ปลาบลูแทงค์ หรือที่รู้จักกันในนาม ปลาขี้ตังเป็ดฟ้า เป็นสัตว์ทะเลที่มีความงดงาม และเป็นที่นิยม ในหมู่นักเลี้ยงปลาทะเลทั่วโลก เป็นปลาเพียงแค่ชนิดเดียว ที่อยู่ภายในสกุล Paracanthurus ด้วยสีสันที่งดงาม และเป็นเอกลักษณ์ ทำให้คนนิยมนำมาเลี้ยง เป็นหนึ่งในกลุ่มปลาทะเลสวยงาม ที่สามารถเลี้ยงไว้ภายในตู้ปลาที่บ้านได้
ปลาบลูแทงค์ หลายคนอาจจะเคยเห็นบ้างแล้ว ในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “Finding Nemo” และ “Findding Dory” โดยปลาบลูแทงค์เป็นหนึ่ง ในตัวละครที่ชื่อว่า ดอรี่ ปลาขี้ลืม ที่เป็นเพื่อนกับตัวละครหลัก คือ ปลาการ์ตูน ที่ชื่อว่า นีโม่ [1] ที่ได้เล่าเรื่องราว เกี่ยวกับดอรี่ ที่มีโรคประจำตัวที่ขี้ลืม และต้องผจญภัยข้ามมหาสมุทร ไปสู่สถาบันวิจัยทางทะเล กับนีโม่ เพื่อที่จะไปตามหาแม่ของเขา
ทำให้คนที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาอยู่แล้ว ได้เห็นลักษณะรูปร่าง และได้เห็นถึงความโดดเด่น ของสีสันของมัน ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงกันมากขึ้นในปัจจุบัน
การเลี้ยงปลาบลูแทงค์ในตู้ปลา แนะนำให้เลี้ยงตู้ขนาด 60x24x24 นิ้ว อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ พืชสาหร่ายสด ใบผักกาดหอม หรือสาหร่ายแห้ง ควรเลี้ยงแยกตู้ละ 1 ตัว เนื่องจากปลาชนิดนี้ มีพฤติกรรมหวงเขต จากสายพันธุ์เดียวกัน ควรที่จะทำความสะอาด ตู้ปลาเป็นประจำ เพราะเป็นปลาที่ขับถ่ายของ เป็นจำนวนมาก
ไม่ควรตกแต่งตู้ปลา ด้วยสาหร่ายปลอม หรือวัตถุใดๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึง กับสาหร่ายทะเล เพราะอาจทำให้ปลา กินสิ่งแปลกปลอมจนเสียชีวิตได้ ควรใช้ไฮโดรมิเตอร์ร่วมด้วย เพื่อให้น้ำ มีความเหมาะสม กับปลาทะเลสวยงามมากที่สุด
ที่มา: “ขายปลาบลูแทงค์Blue Tang” [2]
ปลาบลูแทงค์มีลักษณะ ลำตัวเป็นสีน้ำเงิน มีลายบนตัวยาวสีดำ หางเป็นสีเหลือง มีลำตัวยาว 31 เซนติเมตร มีเกล็ดที่แหลมคม คล้ายกับในมีด เอาไว้ใช้ป้องกันตัว และยังสามารถสร้างสไลม์พิษ ใส่ศัตรูได้ เป็นปลาที่มีสีสันสดใส สามารถพบได้ในทะเลอันดามัน ชอบว่ายน้ำกันเป็นกลุ่ม เคลื่อนไหวประสานกันอย่างสวยงาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ที่มา: “ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า” [3]
ปลาบลูแทงค์ ไม่ใช่แค่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม แต่ปลาบลูแทงค์สามารถเลี้ยงไว้ เพื่อกำจัดตะไคร้น้ำ ที่ขึ้นกาะตามตู้ได้เป็นอย่างดี เพราะปลาชนิดนี้ กินพืชเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว ปลาบลูแทงค์เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย สามารถเข้ากับปลาชนิดอื่นๆ ได้ดี หากใครที่มีตู้ปลาอยู่แล้ว สามารถนำปลาชนิดนี้ลงปล่อย เพื่อเป็นหน่วยทำความสะอาดตู้ได้เลย
ขั้นตอนการปล่อยปลาลงตู้อย่างถูกวิธี
ปลาบลูแทงค์จะไม่ค่อย สืบพันธุ์กันในตู้เลี้ยง แต่ถ้าเป็นตามธรรมชาติ ตัวผู้กับตัวเมีย จะเกี้ยวพาราสีกัน แล้วพากันมาวางไข่บนผิวน้ำ โดยตัวผู้จะปล่อยสเปิร์ม ลงในไข่ เป็นการปฏิสนธิภายนอก ไข่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 มิลลิเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะฟักออกมาภายใน 24 ชั่วโมง
ไข่จะมีลักษณะ เหมือนมีน้ำมันเคลือบอยู่ เพื่อให้ลอยได้ พอพักออกมาเป็นตัวแล้ว ลักษณะก็จะเหมือนพ่อแม่ของมัน และจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อีกครั้ง เมื่ออายุ 9-12 เดือน
ในระบบนิเวศทางทะเล ปลาบลูแทงค์มีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมการเจริญเติบโต ของสาหร่ายบนแนวปะการัง ซึ่งช่วยรักษาความสมดุล ของระบบนิเวศ ปลาชนิดนี้ยังเป็นส่วนหนึ่ง ของห่วงโซ่อาหาร ที่สำคัญในท้องทะเล ซึ่งช่วยในการรักษา ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเรียนรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับปลาบลูแทงค์ไม่เพียงแต่ ช่วยให้เราสามารถเลี้ยงพวกมัน ได้อย่างถูกต้อง แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการรักษาสมดุลของธรรมชาติอีกด้วย
สรุป ปลาบลูแทงค์ เป็นปลาทะเล ที่มีสีสันที่สดใส และลักษณะที่โดนเด่น ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่เลี้ยงปลา การดูแลที่ไม่ยุ่งยาก และการปรับตัวได้ดี กับสิ่งแวดล้อมหลากหลาย ทำให้ปลาบลูแทงค์เป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับการเพิ่มความสวยงาม และสีสันให้กับตู้ปลาในบ้าน หรือที่ทำงานของคุณ