จั๊กก่า เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่หลายคนคุ้นเคย เพราะพบเห็นได้ทั้งในป่าธรรมชาติ และในเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นตามต้นไม้ กำแพง หรือแม้แต่ในสวนหลังบ้าน จั๊กก่ามีหลากหลายสายพันธุ์ และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งความสามารถในการพรางตัว การเปลี่ยนสี และการเคลื่อนไหวที่ว่องไว บทความนี้จะพาไปรู้จักจั๊กก่าให้ลึกซึ้งขึ้น ตั้งแต่ลักษณะทั่วไป พฤติกรรม และบทบาทในระบบนิเวศ
จั๊กก่า มาจากภาษาเหนือล้านนา ที่หมายถึง “กิ้งก่า” นั้นเอง จั๊กก่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และในเมืองเหมือนกับ จั๊กกะเล้อเกี้ยง กระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือ และทวีปแอนตาร์กติกา รวมถึงในประเทศไทยเอง พบเห็นได้บ่อยตามต้นไม้ หรือกำแพง เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการพรางตัว ให้กลมกลืนกับสิ่งรอบข้าง ทั้งป้องกันศัตรู และดักจับเหยื่อเป็นอาหาร
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ที่มา: “กิ้งก่า” [1]
จั๊กก่ามีลักษณะเด่นคือ ลำตัวยาวเรียว มีสี่ขา ขาหน้าขาหลังแข็งแรง มีเกล็ดปกคลุมลำตัวบางชนิดมี หางยาว ที่สามารถช่วยในการทรงตัว หรือป้องกันตัวเองเมื่อถูกศัตรูจับ นอกจากนี้ จั๊กก่าบางสายพันธุ์สามารถ เปลี่ยนสีผิว เพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อแสดงอารมณ์ เช่น ความเครียดหรือการหาคู่
ดวงตาของจั๊กก่า ก็มีความพิเศษมาก มันสามารถหมุนอิสระได้รอบทิศ ทำให้สามารถมองเห็นเหยื่อ หรือศัตรูโดยไม่ต้องขยับศีรษะ สายพันธุ์จั๊กก่าที่พบได้บ่อย ในประเทศไทย ได้แก่ จั๊กก่าคอแดง และจั๊กก่าบิน ที่มีความสามารถในการร่อน จากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นได้อย่างน่าทึ่ง
จั๊กก่าเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมหลากหลาย มักพบว่าจั๊กก่า ออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย เพราะเป็นช่วงที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป มันชอบอาบแดด เพื่อเพิ่มพลังงาน เนื่องจากเป็นสัตว์เลือดเย็ ที่ต้องพึ่งพาความร้อนจากสิ่งแวดล้อม จั๊กก่ายังมีพฤติกรรม ในการแสดงอาณาเขต โดยเฉพาะจั๊กก่าคอแดง ตัวผู้มักยืดคอ และขยับขึ้นลงเป็นจังหวะ เพื่อต่อสู้แย่งอาณาเขต หรือเรียกหาคู่
จั๊กก่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดเล็ก มันจะกินแมลงต่างๆ อย่างเช่น จิ้งหรีด ผีเสื้อ และแมงมุม พฤติกรรมการล่าของจั๊กก่า มีความว่องไวมาก มันจะ จู่โจมเหยื่ออย่างรวดเร็ว ด้วยลิ้นที่ยาวและเหนียว ทำให้จับเหยื่อได้แม่นยำ การกินแมลงของจั๊กก่าช่วยควบคุม ประชากรแมลงในระบบนิเวศ ทำให้เป็นประโยชน์ ทั้งในธรรมชาติและในชุมชน
จั๊กก่า เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการ พรางตัวและเปลี่ยนสี เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว พฤติกรรมนี้ ไม่เพียงช่วยให้มันรอดพ้นจากศัตรู แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในการล่าเหยื่อ และแสดงสถานะหรืออารมณ์ของมัน ในสถานการณ์ต่างๆ จั๊กก่าหลายชนิดสามารถปรับสีผิว ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เช่น สีเขียวเพื่อซ่อนตัวตามต้นไม้ หรือสีน้ำตาล เมื่ออยู่บนดิน หรือตามเปลือกไม้
พฤติกรรมนี้เรียกว่า Camouflage หรือการอำพรางตัว [2] ซึ่งช่วยลดโอกาสที่ศัตรู เช่น งู นก หรือสัตว์นักล่าอื่นๆ จะมองเห็นมัน จั๊กก่าบางสายพันธุ์ อย่างเช่น จั๊กก่าบิน (Flying Dragon) ใช้สีลำตัวในการพรางตัว ระหว่างเกาะอยู่บนต้นไม้ และเมื่อร่อนลงจากต้นหนึ่งไปอีกต้น มันก็สามารถพับพังผืดเก็บ ให้กลมกลืนกับพื้นผิว
จั๊กก่าเปลี่ยนสีได้ โดยใช้โครงสร้างเซลล์พิเศษในผิวหนัง ที่เรียกว่า Chromatophores และ Iridophores กลไกนี้ไม่เพียงช่วยให้จั๊กก่าพรางตัว แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมอุณหภูมิ และสื่อสารกับจั๊กก่าตัวอื่น
1. เซลล์ Chromatophores – คือเซลล์ผิวที่ประกอบด้วยเม็ดสี เช่น สีแดง สีเหลือง และสีน้ำตาล เมื่อกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังหด หรือคลายตัว เม็ดสีในเซลล์ Chromatophores จะกระจายหรือหดตัว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนสีผิว เช่น เมื่อเม็ดสีดำกระจายตัว สีของจั๊กก่าจะเข้มขึ้น และหากสีแดงหรือเหลืองเด่นขึ้น จั๊กก่าจะมีสีสดใสขึ้น
2. เซลล์ Iridophores หรือ Guanophores – มีผลึกขนาดเล็กของสารชื่อ กัวนีน (Guanine) ที่สามารถสะท้อนและกระจายแสง ช่วยให้จั๊กก่าแสดงสีที่เป็นเงาวาว เช่น สีฟ้าหรือสีเขียว และยังมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงสีผิว ตามระดับแสง หรืออุณหภูมิ
เมื่อแสงสะท้อนผ่าน Iridophores สีที่ปรากฏจะเปลี่ยนไป ตามมุมที่แสงตกกระทบ
ที่มา: “How And Why Some Lizards Can Change Color” [3]
จั๊กก่าเป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ทั้งในฐานะ ผู้ล่าและเหยื่อ โดยการดำรงชีวิตของจั๊กก่า ช่วยให้วงจรอาหารดำเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พฤติกรรมและการมีอยู่ของจั๊กก่า ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการควบคุมแมลง และการเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ของระบบนิเวศ
จั๊กก่าเป็นนักล่าขนาดเล็ก ที่กินแมลง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อย่างเช่น จิ้งหรีด ยุง การกินแมลงเหล่านี้ ช่วยควบคุมจำนวนแมลง ที่อาจเป็นศัตรูพืช หรือ พาหะนำโรคได้ จั๊กก่าเป็นเหยื่อของสัตว์ผู้ล่าหลายชนิด เช่น งู นก และแมวป่า ทำให้มันมีบทบาทสำคัญ ในห่วงโซ่อาหาร การเป็นแหล่งอาหารสำหรับนักล่าเหล่านี้ ช่วยให้วงจรชีวิตของสัตว์นักล่า ยังคงดำเนินต่อไป และระบบนิเวศสมดุล
สรุป จั๊กก่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีความสามารถ และพฤติกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพรางตัว การเปลี่ยนสี หรือการล่าเหยื่ออย่างว่องไว นอกจากจะช่วยควบคุมจำนวนแมลงในธรรมชาติแล้ว จั๊กก่ายังเป็นส่วนหนึ่ง ของห่วงโซ่อาหาร ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ การเข้าใจพฤติกรรม และบทบาทของจั๊กก่า จะช่วยให้เรามองเห็นความงดงาม ของธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อย่างกลมกลืน