เปิดแฟ้ม คาราคัล แมวป่า นักวิ่งความเร็วสูง

คาราคัล

คาราคัล แมวป่าสัตว์เลี้ยงสุดแปลก แถมราคาก็แสนจะแพงกระเป๋าฉีก เหมาะกับคนที่อยากมีเพื่อนซี้เป็นเสือ แต่ไม่สามารถเลี้ยงในประเทศไทยได้ ซึ่งน้องหน้าหล่อ ถ้ามองดูจากภายนอกอาจดูน่ารัก แต่แท้จริงแล้ว เป็น แมวป่า ที่มีสัญชาตญาณ ของสัตว์ป่านักล่าอย่างเต็มตัว

เจาะข้อมูล คาราคัล ( Karakulak ) แปลว่า “ หูสีดำ ”

คาราคัล มีชื่อเรียกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ลิงทะเลทราย, ลิงแอฟริกา, ลิงอียิปต์ หรือลิงเปอร์เซีย จัดอยู่ในสกุล Caracal เป็นแมวขนาดกลาง มีถิ่นการกระจายสายพันธุ์ อยู่ในแถบเอเชียใต้, เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกา

ส่วนที่มาของชื่อ Karakulak นั้น มาจากคำในภาษาตุรกี ซึ่งมีความหมายว่า “ หูสีดำ ” ส่วนใหญ่ประเทศที่นำมาเลี้ยง เพื่อใช้ล่าสัตว์อื่นโดยเฉพาะ คือ อียิปต์, อินเดีย และอิหร่าน [1]

ถิ่นอาศัย คาราคัล ( Caracal ) แมวป่าผู้นักล่า

คาราคัล

สำหรับแมวป่านักล่า จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ไม่ว่าจะเป็น สะวันนา, ป่าวูดแลนด์, ป่าละเมาะอะคาเซีย เป็นต้น นั่นก็เพราะร่างกายของน้อง อดทนต่ออุณหภูมิ อดทนต่อสภาพแวดล้อม แต่พื้นที่ที่จะพบ คาราคัล ได้บ่อยที่สุด

คงจะเป็นป่าชุ่มชื้นของชายฝั่งทะเลเหนือ ทะเลทรายซาฮาร่า อีกทั้งยังพบอีกที่ทะเลทรายอินเดีย แต่ไม่มีข้อมูลว่า พบน้องในป่าเขตร้อน สามารถอยู่บนต้นไม้ที่สูงถึง 2,500 – 3,000 เมตร

ลักษณะทั่วไป คาราคัล แมวแอฟริกาขนาดกลาง

  • แมวขนาดกลาง มีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง หน้าสั้น ฟันยาว หูเป็นกระจุก ขายาว
  • ความยาวลำตัว = เพศผู้ 78 – 108 เซนติเมตร ( 31 – 34 นิ้ว ) เพศเมีย 71 – 103 เซนติเมตร ( 28 – 41 นิ้ว ) วัดจากความยาวหัวถึงลำตัว
  • ความยาวหาง = เพศผู้ 21 – 34 เซนติเมตร ( 8.3 – 13.4 นิ้ว ) เพศเมีย 18 – 31.5 เซนติเมตร ( 7.1 – 12.4 นิ้ว )
  • ความสูง = ถ้าตัวโตเต็มวัย จะมีความสูงเท่า ๆ กันประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร วัดจากอุ้งเท้าถึงหัวไหล่
  • น้ำหนัก = เพศผู้หนักระหว่าง 7.2 – 19 กิโลกรัม เพศเมียหนักระหว่าง 7 – 15.9 กิโลกรัม
  • ฟัน = มีทั้งหมด 30 ซี่

ที่มา : WIKIPEDIA – Caracal [2]

ชีววิทยา คาราคัล สัตว์เลี้ยงหน้าหล่อ มูลค่าแพง

คาราคัล

สำหรับชีววิทยาของ คาราคัล หรือการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ Karakulak สิ่งมีชีวิตที่สามารถเลี้ยงในไทยได้ แต่จะต้องมีใบอนุญาต ถึงจะสามารถครอบครองได้ น้องสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ถ้าตัวที่อาศัยอยู่ทะเลทรายซาฮาร่า มักจะผสมพันธุ์เดือนมกราคม เดือนหนึ่งประมาณ 5 – 6 วันติดต่อกัน

เพศเมียอาจจับคู่กับเพศผู้ ได้มากถึง 3 ตัว อีกทั้งยังตั้งท้องนาน 71 – 81 วัน ถึงจะคลอดแมวหน้าหล่อออกมา ครอกหนึ่งประมาณ 1 – 6 ตัว ส่วนไอ่ตัวเล็กที่เพิ่งคลอด จะเริ่มเปิดตาเมื่ออายุ 6 – 10 วัน แต่เมื่ออายุครบ 3 สัปดาห์ แม่ ๆ จะพาย้ายออกจากรังที่คลอด อีกทั้งการตั้งครรภ์ของ Karakulak จะสิ้นสุดครั้งสุดท้ายเมื่ออายุ 18 ปี [3]

เปิด 2 เรื่อง คาราคัล ที่ควรระวัง

หากตัดสินใจจะรับน้อง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบ้าน มาเป็นเพื่อนซี้ มี 2 ข้อควรระวัง ที่มือใหม่จะต้องทราบ รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ควรขัดใจ = ด้วยความที่เป็นสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนมานาน ทำให้กลายเป็นสัตว์ที่ใจร้อนง่าย มีความดุ หากเมื่อไหร่ที่เริ่มขัดใจ มันจะหงุดหงิดง่าย เช่น มันกำลังเล่นของเล่นอยู่ แต่อยู่ ๆ ก็ไปหยิบขึ้นมา น้องอาจจะจู่โจมด้วยสีหน้าที่ดุ อีกทั้งจะมีเสียงขู่
  • ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับสัตว์อื่น = น้องจะชอบอยู่กับแค่พวกเดียวกัน หากเจอสัตว์อื่น อาจจะไล่ จนถึงขั้นทำร้ายอีกฝ่ายได้ ยกเว้น ตัวที่ถูกฝึกให้อยู่กับคน อยู่กับสัตว์ชนิดอื่น ๆ

แนะนำฟาร์ม คาราคัล ประเทศไทย

คาราคัล

ว่าด้วยฟาร์มเพราะพันธุ์แมวป่า หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ ประเทศไทยในตอนนี้ ได้มีฟาร์มซื้อ – ขายสัตว์เลี้ยง ที่เปิดในรูปแบบเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นออนไลน์ โดยมีชื่อว่า “ Pecgo ” ตลาดสัตว์เลี้ยงออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด ถ้าในส่วนของเว็บไซต์ สามารถพิมพ์ชื่อได้ที่การค้นหาของ Google

ส่วนของแพลตฟอร์ม ทำการโหลดแอปพลิเคชั่นก่อน รองรับได้ทั้งระบบ iOS และ Android ซึ่งฟาร์มแห่งนี้จำหน่าย คาราคัล สายพันธุ์แท้ นำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าเริ่มที่ 275,000 บาท อีกทั้งยังเป็นฟาร์ม ที่จดทะเบียนเพาะพันธุ์อย่างถูกต้อง มีประสบการณ์ซื้อ – ขายมากกว่า 10 ปี จำหน่ายสายพันธุ์นี้มามากกว่า 100 ตัว [4]

ฟาร์ม คาราคัล กับช่องทางการติดต่อ

สำหรับช่องทางการติดต่อ บทความนี้เราจะแปะทิ้งไว้ให้ โดยจะมีช่องทางให้เลือก 5 ช่องทาง รายละเอียดมีดังนี้

  • เว็บเพจ / แอปพลิเคชั่น / Facebook ชื่อ Pecgo
  • Instagram = Pecgo_Official
  • ID Line = @Pecgo
  • Mail = official@pecgo.com

สรุป คาราคัล ( Caracal )

แมวป่าสัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ ที่คนไทยเพิ่งจะนิยมเลี้ยง สามารถเลี้ยงในประเทศไทยได้ แต่จะต้องมีใบอนุญาตก่อน อีกทั้งขั้นตอนการซื้อ จะต้องเลือกฟาร์มที่มีใบเช่นกัน เลี้ยงง่าย กินจุ ขอแค่ไม่เลี้ยงร่วมกับสัตว์ชนิดอื่น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง