กินรี จากป่าหิมพานต์ในตำนานไทย

กินรี

กินรี เป็นสัตว์ในวรรณคดีไทย และเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน ในศาสนาพุทธ และฮินดู เป็นสิ่งมีชีวิตลูกผสม ระหว่างมนุษย์และนก กินรีมีลักษณะเป็นหญิงสาวสวยงาม ครึ่งบนเป็นมนุษย์ครึ่งล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ซึ่งมีความเชื่อว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ป่าที่เต็มไปด้วยสัตว์วิเศษ และมีสภาพลึกลับ หลายคนอาจเคยเห็นบ้างแล้ว ตามรูปภาพกิจกรรมฝาผนัง ในวัดวาอาราม หรือรูปปั้นกินรีในสถานที่สำคัญต่างๆ ทำให้สามารถรู้ได้ว่า กินรีมีตำนานมาอย่างยาวนาน

ตำนานของ กินรี

กินรี เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ และวรรณคดี ในศาสนาพุทธและฮินดู ซึ่งกินรีมักถูกเล่าขานในหลายเรื่องราว เกี่ยวกับป่าหิมพานต์ ป่าลึกลับที่อยู่เหนือโลกมนุษย์ เป็นที่อาศัยของสัตว์วิเศษ และมีสภาพที่มนุษย์ทั่วไป ไม่สามารถเข้าถึงได้ หนึ่งในตำนาน ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเกี่ยวกับกินรี คือเรื่อง พระสุธน-มโนราห์

เรื่องพระสุธน-มโนราห์ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ เจ้าชายพระสุธน และมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรีสาวงาม มโนราห์และกินรีอื่นๆ จะมาเล่นน้ำในสระ ที่อยู่ในป่าหิมพานต์ ในขณะที่กำลังเล่นน้ำ มโนราห์ถูกพรานบุญ จับตัวด้วยกลอุบาย และถูกนำไปถวายกษัตริย์แห่งเมืองพระสุธน พระสุธนและมโนราห์ตกหลุมรักกัน แต่ในเวลาต่อมา มโนราห์ถูกกล่าวหาว่า จะเป็นต้นเหตุให้เมืองเกิดภัยพิบัติ และต้องถูกเผาทั้งเป็น

มโนราห์ได้รับการช่วยเหลือ จากเหล่ากินรี โดยเธอหนีจากกองเพลิง และบินกลับไปยังป่าหิมพานต์ พระสุธนได้ออกตามหามโนราห์ และผ่านบททดสอบต่างๆ มากมายเพื่อพิสูจน์ความรักที่มีต่อเธอ ในที่สุดทั้งคู่ ก็ได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง

ที่มา: “พระสุธน มโนราห์” [1]

ลักษณะของกินรีและกินร

กินรีจะมีลักษณะ รูปร่างที่เล่าขานกันอยู่หลายรูปแบบ บางตำนานก็เล่าว่า กินรีเป็นหญิงงาม ผิวขาวดุจดอกบัวขาว ผมยาวสยายงาม ส่วนบนมีลักษณะเหมือนมนุษย์ ส่วนล่างเป็นนก มีปีกสามารถบินได้ บางตำนานเล่าว่า กินรีเป็นหญิงรูปงาม ที่มีปีกมีหาง สามารถถอดเก็บได้ หากจะบินก็นำปีก นำหาง มาใส่เพื่อที่จะบิน

ส่วนกินร เป็นชายหนุ่มรูปงาม ที่มีลักษณะเหมือนกินรีแต่เป็นเพศชาย กินรมีความสามารถ ในการบิน และมีลักษณะสง่างาม แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความแข็งแรงมากกว่ากินรี ที่อยู่คู่กันในป่าหิมพานต์

ป่าหิมพานต์ บ้านของกินรี

กินรี

ป่าหิมพานต์ เป็นป่าตามตำนาน และความเชื่อในวรรณคดีไทย และวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในไทย และลาว ป่านี้ถือเป็นสถานที่มหัศจรรย์ ที่ตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามความเชื่อ ทางพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ป่าหิมพานต์ถูกพรรณนาว่า เป็นป่าที่สวยงาม และลึกลับ เต็มไปด้วยธรรมชาติอันบริสุทธิ์

เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ในตำนาน เช่น กินร ครุฑ นาค สิงหไกรสร ราชสีห์ และสัตว์ในตำนานอื่น ๆ ที่มีลักษณะผสม ระหว่างสัตว์ต่าง ๆ หรือระหว่างสัตว์กับมนุษย์ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มักมีความสามารถพิเศษ เช่น การบิน การแปลงกาย หรือพลังวิเศษอื่น ๆ ป่าหิมพานต์เป็นที่ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี รามเกียรติ์ และชาดกในพระพุทธศาสนา

ตามความเชื่อโบราณ ป่าหิมพานต์เป็นที่อาศัย ของเทพเจ้าและสัตว์วิเศษ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถเข้าไปถึงได้ง่าย ๆ

ที่มา: “รู้ไว้ใช่ว่า…ตอน ป่าหิมพานต์ ป่าในตำนาน” [2]

กินรี ในวัฒนธรรมไทย

กินรี

กินรี มีบทบาทสำคัญ ในวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง เป็นทั้งสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงความงาม ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน มีการกล่าวถึงกินรีในวรรณคดี ศิลปะ และประเพณีไทยหลายรูปแบบ กินรีเป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญ ของวรรณคดีไทย ที่เกี่ยวข้องกับป่าหิมพานต์ เช่น พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งเป็นเรื่องราว ที่นำมากล่าวในบทก่อนหน้า นอกจากนี้ กินรียังปรากฏในเรื่องราวอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเดินทาง ของนักปราชญ์ หรือนักบวชที่ต้องพบกับสัตว์วิเศษ และสิ่งเหนือธรรมชาติในป่าหิมพานต์

ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม

กินรีถูกนำมาใช้ เป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างรูปปั้น และตกแต่งอาคารทางศาสนา เช่น วัด พระราชวัง และสถานที่สำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะรูปปั้นกินรีที่มักจะถูกสร้าง ในท่าทางที่สง่างาม เช่น กินรีร่ายรำ กินรีกำลังโบยบิน หรือกินรีที่ประดับไว้ที่ศาลา และเสาหลัก

นอกจากนี้กินรี ยังมีบทบาทด้านนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์ไทย ได้รับแรงบันดาลใจจากกินรี เช่น การรำกินรี ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อถึงความงดงาม และความอ่อนโยนของกินรี นักแสดงจะสวมใส่เครื่องแต่งกาย ที่มีปีกและเครื่องประดับคล้ายกับนก เพื่อสื่อถึงลักษณะพิเศษ ของกินรีที่มีความเป็นมนุษย์ และนกผสมผสานกัน

กินรีในวรรณไทยในเรื่องอื่นๆ

กินรีในเรื่อง จันทกินรีคำฉันท์ : จันทกินรีเป็นตัวละครในเรื่อง จันทกินรีคำฉันท์ เป็นชายาของจันทกินนร ท้าวพรหมทัตแห่งนครพาราณสี ได้ยินเสียงนางร้องเพลงเสียงไพเราะ ก็พอใจ อยากได้นางเป็นชายา จึงใช้พระแสงศรยิงจันทกินนร นางจันทกินรีคิดว่าสามีเสียชีวิตก็ร้องไห้คร่ำครวญ นางจึงสาปแช่งท้าวพรหมทัต ให้ประสบความหายนะ ทั้งยังกล่าวบริภาษอย่างรุนแรง ก่อนที่จะบินหนีขึ้นไปบนยอดเขา [3]

กินรีในเรื่อง พระอภัยมณี : กินรีในเรื่อง พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ปรากฏในตอนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวละครชื่อ สุดสาคร ที่ได้รับการเลี้ยงดูจากฤๅษี และเมื่อต้องออกเดินทางไปหาพ่อของเขา ระหว่างทาง สุดสาครได้พบกับเหล่ากินรี ที่กำลังเล่นน้ำอยู่ในบึง กินรีในเรื่อง พระอภัยมณี มีบทบาทเพียงช่วงสั้น ๆ ไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ในการดำเนินเรื่องของสุดสาครมากนัก แต่ถูกใช้เพื่อสร้างบรรยากาศ ความมหัศจรรย์ ของโลกในวรรณคดี

 สรุป กินรี สัตว์ในวรรณคดี

สรุป กินรี เป็นสิ่งมีชีวิตในตำนาน ที่มีลักษณะพิเศษ ที่มีความสำคัญในวัฒนธรรม และวรรณคดีไทย ด้วยรูปลักษณ์ครึ่งนกครึ่งมนุษย์ที่น่าอัศจรรย์ ในเรื่องราวในวรรณคดีต่างๆ กินรีมักเป็นตัวแทนของความงามอันบริสุทธิ์ และมีความเมตตา กินรีเลยถูกจารึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมฝาผนังในวัด ที่เราอาจจะคุ้นตา เรื่องราวของกินรี ควรเป็นเรื่องราวที่ควรเล่า ให้ลูกหลานสืบไปในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง